Loading...
Loading...
Loading...


Loading...
Loading...
Loading...

AWARD

รางวัล




โครงการรางวัลยุวศิลปินไทย ปี 2560

YOUNG THAI ARTIST AWARD 2017



สาขาวรรณกรรม

LITERATURE





ธีรเชษฐ์ เพชรโชติ

TEERACHATE

PECHCHOT



การศึกษา

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Education

Faculty of Humanities and Social Sciences, Prince of Songkla University



ชีวิตบนสายทางแห่งความระแวดระวังภัยเป็นแบบนี้อยู่นานหลายเดือน จนผมสังเกตตัวเอง และรู้ว่าที่จริงไม่มีใครตามฆ่าตามยิงผมสักหน่อย ไม่มีใครสนใจใครทั้งนั้น แม่ค้าขายของเราจ่ายเงินรับของมาก็จบ คนขับรถรับจ้างเราบอกว่าไปไหนเขาไปส่งถึงที่หมายจ่ายเงินไปก็จากกัน ทหารเขาก็ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด แต่ที่น่ากลัวคือความคิดของเราเอง ผมหลอกตัวเองอยู่สามเดือน กว่าจะเข้าใจว่าใครดีใครบ้า พอรู้สึกตัวก็เหมือนเกิดใหม่




ชื่อผลงาน

วิมานที่เราอยู่ คือรูสะมิแล

ปีที่แต่ง

2560

ประเภท

นวนิยาย


Title of Work

Rusamilae the Paradise Resident we stay

Year of Product

2017

Category

Novel



แรงบันดาลใจ

จริงๆ แล้วพลังที่ผลักดันให้ต้องเขียนคือ “ความอึดอัด” ที่เกิดจากความรู้สึกที่สะสมมาตั้งแต่ช่วงปีแรกๆ หลังเข้ามาเป็นลูกพระบิดา บวกกับภาพความเข้าใจใหม่ต่อสังคมปัตตานีหลังเรียนจบออกมาใหม่ๆ ซึ่งขัดแย้งกับจินตนาการของตน ก่อนที่จะมาอยู่ที่นี่ ก่อนนี้สังคมปัตตานีคื แหล่งที่ที่พึงหลีกเลี่ยง ด้วยเป็นดินแดนที่ความขัดแย้งสุมชุมมาเนิ่นนานแต่เมื่อมาเรียนมาสัมผัสด้วยตนเองกลับพบว่าปัตตานีไม่ได้เป็นอย่างที่เราเคยคิดเคยเชื่อ เมื่อประจักษ์ในความ “หนุก สุข หรอย” ที่ตนเองร่วมรับรู้ และสร้างสรรค์ขึ้นตลอด 5 ปีที่อยู่ในรูสะมิแลพลังที่เด่นชัดเหล่านี้แหละที่ประกอบสร้างตัวละคร ฉาก จากความทรงจำซึ่งบีบบังคับให้ “ผม” ต้องเล่าออกมาให้น้องๆ ที่อยากมาเรียนและ /หรือน้องปีหนึ่งที่เพิ่งเข้ามาได้อ่าน “คู่มือชีวิตเด็ก ม.อ.ปัตตานี” ในรูปแบบนวนิยายขนาดสั้น ท้ายสุดแล้วหวังว่ามายาคติเชิงลบทั้งหลายต่อพื้นที่จะทลายลงหลังได้เสพรสชาติชีวิตที่กลมกล่อม ผ่านมุมมองซึ่งฉีกต่างไปจากลีลาที่คุ้นชิน

Inspiration

In fact, the main force for writing is “the awkwardness feeling” that had been accumulated since the early years of being a freshman of Prince of Songkla University. Moreover, after graduation we have more realization and understanding about Pattani society which contrasts with our first imagination before coming here. We have heard that Pattani is the red zone area where has long term confl ict and people avoided visiting here. On the other hands, since we were there, Pattani is not what the way we used to believe. We easily touched the word “happiness” which we shared one another of brotherhood, students - teachers as well as training teachers during 5 years we stayed in Rusamilae. These remarkable powers inspire me to create some characters from the great memory that pushes me to directly tell all freshmen who have a chance to read. Hopefully, “Pattani student’s life Guide book” in the form of short novel can break the negative myth after reading real lifestyle through different point of view apart from the familiar style.


แนวความคิด

จากมุมมองของตัวละครเอกต่อบริบทสังคมสามจังหวัด และน้ำเสียงลีลาการเล่าที่ออกไปในแนวสร้างความคึกคักสนุกสนานนั้น หวังว่าจะทําให้ผู้อ่านทั้งคนในและคนนอกพื้นที่ได้ลิ้มรสเรื่องราว ตัวละคร ฉาก ที่ถึงแม้จะกล่าวถึงเหตุการณ์ระเบิดแต่ก็เป็นไปในลักษณะของปรากฏการณ์ทางสังคมในมุมมองใหม่ ในเชิงสร้างสรรค์ซึ่งผู้อ่านอาจจะไม่เคยรับรู้ผ่านกระบอกเสียงของสื่อในรูปแบบใดมาก่อน การได้เห็นได้มองสังคมปัตตานีผ่านวิถีชีวิตที่สุดแสนจะธรรมดาของนักศึกษานั้น นอกจากจะทําให้ผู้อ่านได้กลับมาสํารวจมายาคติของตนต่อพื้นที่ ต่อบุคคล และความรู้สึกนึกคิดในมิติต่างๆ ที่มีต่อสังคมสามจังหวัดแล้ว ยังจะทําให้เขากลับมาสํารวจตรวจทานสายตาของตนเอง ของเพื่อน ของสังคมทั่วไปที่ถูกชักจูงให้เชื่องเชื่อคล้อยตามไปกับกระแสความคิดของบางกลุ่มบางฝ่าย ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์บางประการถึงที่สุดแล้ว หากผู้อ่านได้มีโอกาสมาเที่ยว มาเยี่ยมลูกหลานที่เรียนอยู่ในปัตตานีอีกครั้ง เขาอาจจะได้หยิบใช้มุมมองใหม่ของตัวละครในนวนิยายที่เคยสะดุดใจดูบ้าง

Concept

จากมุมมองของตัวละครเอกต่อบริบทสังคมสามจังหวัด และน้ำเสียงลีลาการเล่าที่ออกไปในแนวสร้างความคึกคักสนุกสนานนั้น หวังว่าจะทําให้ผู้อ่านทั้งคนในและคนนอกพื้นที่ได้ลิ้มรสเรื่องราว ตัวละคร ฉาก ที่ถึงแม้จะกล่าวถึงเหตุการณ์ระเบิดแต่ก็เป็นไปในลักษณะของปรากฏการณ์ทางสังคมในมุมมองใหม่ ในเชิงสร้างสรรค์ซึ่งผู้อ่านอาจจะไม่เคยรับรู้ผ่านกระบอกเสียงของสื่อในรูปแบบใดมาก่อน การได้เห็นได้มองสังคมปัตตานีผ่านวิถีชีวิตที่สุดแสนจะธรรมดาของนักศึกษานั้น นอกจากจะทําให้ผู้อ่านได้กลับมาสํารวจมายาคติของตนต่อพื้นที่ ต่อบุคคล และความรู้สึกนึกคิดในมิติต่างๆ ที่มีต่อสังคมสามจังหวัดแล้ว ยังจะทําให้เขากลับมาสํารวจตรวจทานสายตาของตนเอง ของเพื่อน ของสังคมทั่วไปที่ถูกชักจูงให้เชื่องเชื่อคล้อยตามไปกับกระแสความคิดของบางกลุ่มบางฝ่าย ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์บางประการถึงที่สุดแล้ว หากผู้อ่านได้มีโอกาสมาเที่ยว มาเยี่ยมลูกหลานที่เรียนอยู่ในปัตตานีอีกครั้ง เขาอาจจะได้หยิบใช้มุมมองใหม่ของตัวละครในนวนิยายที่เคยสะดุดใจดูบ้าง


เนื้อหาในบทประพันธ์อย่างย่อ

ตั้งใจจะถ่ายทอดเรื่องราวความรักความผูกพันของนักศึกษา ม.อ.ปัตตานี ที่มีต่อสถาบัน ครูบาอาจารย์ หมู่เพื่อน และน้องพี่ชาวศรีตรัง นําเสนอผ่านรสชาติชีวิตของเด็กหอนอก - หอใน ทั้งจากมุมของความเป็นพี่ - เป็นน้อง เป็นศิษย์และเป็นครูฝึกสอน ซึ่งดําเนินไปในบริบทของสังคมสามจังหวัด เรื่องราวทั้งหมดถูกบอกเล่าผ่านสายตาของ “ผม” หรือ “ปอนด์” (ตัวละครเอก) เด็กหนุ่มจาก พัทลุงที่เลือกมาเรียนเอกภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ จาก “คนนอก” พื้นที่ที่หาญกล้าเข้ามาเรียน มาใช้ชีวิตในสังคมปัตตานีอยู่ 5 ปี จนกระทั้งเรียนจบ และสอบบรรจุเป็นครูได้ตามฝัน

Synopsis

The intention is to convey the deep connection of Pattani students to the college, teachers, and all friends. We tell the story through the spice of the student’s life who spend their daily life in the dormitories located both inside and outside the campus, the viewpoints in the three southern provinces. All stories are told through first-person point of view or “Pond” (the protagonist), a young boy from Phatthalung who studied Thai language in Faculty of Education. From “stranger” who had been studying in Pattani for 5 years until finished studying and being a Teacher following his dream.