วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
College of Music, Mahidol University
บนเส้นทางสายไหม
2563
7 นาที 30 วินาที
On The Silk Road
2020
7 minutes 30 seconds
เกิดจากการสนทนากับเพื่อนนักดนตรีและครูดนตรีไทย ถึงปัญหาของดนตรีไทยในปัจจุบันที่ได้รับความนิยมน้อยลง และยังมีผู้ประพันธ์ผลงานใหม่ๆ ให้กับเครื่องดนตรีไทยจำนวนน้อย เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ เช่น อินโดนีเซีย จีน ญี่ปุ่น ที่ยังมีผู้สนับสนุนและผู้สร้างสรรค์ผลงานใหม่อยู่เสมอ และมีการพัฒนาทั้งเครื่องดนตรีและวงดนตรีอย่างจริงจัง อย่างประเทศจีนเป็นต้น ที่มีวงดุริยางค์เครื่องดนตรีจีน (Chinese Orchestra) ที่ยังได้รับความนิยมอยู่มาก จึงอยากที่จะสร้างสรรค์บทเพลง ที่นำเอาองค์ประกอบต่าง ๆ ของดนตรีไทยเดิมมาใช้อย่างรอบด้าน และในเวลาเดียวกันก็พัฒนาต่อด้วยการประยุกต์เข้ากับดนตรีประเภทอื่น เพื่อส่งเสริมให้นักดนตรีชาวไทยหันมาสนใจพัฒนาทั้งเครื่องดนตรีและตัวดนตรีของไทยกันมากขึ้น
As discussed with my fellow musicians and music instructors about less popularity of Thai traditional music, there is less number of composers using traditional Thai musical instruments compared to other countries, such as, Indonesia, China, and Japan. They are enthusiastic supporters and composers when it comes to their own tradition. For instance, China has the popular Chinese Orchestra. I would love to produce songs with various elements in the different genres because I would like to encourage the importance of Thai traditional musical instruments and music.
Silk Road” หรือเส้นทางสายไหม คือเส้นทางที่มีการค้าขายสินค้า แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและความรู้ด้านต่าง ๆ เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างประเทศตะวันตกและตะวันออกที่สำคัญระยะหนึ่งในอดีต ผู้ประพันธ์มีความตั้งใจให้บทประพันธ์ชิ้นนี้จะเป็นเหมือนเส้นทางสายไหมทางดนตรี ที่จะค่อย ๆ เชื่อมดนตรีจากต่างสถานที่เข้าหากัน บทเพลงนี้เริ่มต้นด้วยความขัดแย้งระหว่างวง String quartet และซอด้วงซึ่งเป็นตัวแทนของดนตรีไทย โดยต่างฝ่ายก็ต่างมีกลวิธีการบรรเลงและองค์ประกอบทางดนตรีของตนที่เป็นเอกลักษณ์ แตกต่างกันอย่างชัดเจน จนฟังดูเป็นเพียงแค่เพลงสองเพลงที่มาบรรเลงพร้อมกัน การที่วัฒนธรรมที่แตกต่างกันจะสามารถประสานเข้าหากันได้ จำเป็นที่จะต้องอาศัยความเต็มใจในการปรับตัวเข้าหากันจากทั้งสองฝั่ง ซึ่งเกิดจากความเข้าใจว่าสิ่งที่แต่ละฝ่ายมองว่าเป็นเอกลักษณ์ของตนนั้นต่างก็เกิดมาจากวัฒนธรรมอื่น ๆ ที่ได้หลอมรวม และเปลี่ยนแปลงต่อกันมาตามกาลเวลาอีกทีหนึ่ง การยอมลดความเคร่งครัดในกฎเกณฑ์ของตนในบางส่วน จึงสามารถช่วยให้เกิดการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมได้ง่ายขึ้น ซึ่งในที่สุดก็จะนำไปสู่การพัฒนากลวิธีการบรรเลงและภาษาทางดนตรีแบบใหม่ ที่จะเกิดขึ้นในช่วงท้ายเพลง โดยความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว คือสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้วัฒนธรรมดั้งเดิมเหล่านี้สามารถมีชีวิตอยู่ต่อไปได้
The Silk Road was an ancient trade route that linked the Western world with the Middle East and Asia. It also stood as the center of economic, cultural, political, and religious interactions between these regions. This song is intended to be “the musical Silk Road” that connects music from different regions together. Beginning with a conflict between a string quartet and a Saw Duang, a traditional Thai musical instrument, each of them has its unique playing techniques and distinctly different compositions. So it sounds as if there were two songs playing at the same time. Different cultures can be harmonised when there is a willingness to adapt from both sides, understanding that their uniqueness is also derived, fused, and evolved from other cultures over time. Therefore, relaxing the rules can facilitate intercultural communication, which leads to new musical techniques and languages at the end of the song. These changes are essential for maintaining the traditional cultures.