คณะดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
Faculty of Music, Silpakorn University
ภวังค์
2558
6 นาที
Bhawanga; subconsciousness
2015
6 minutes
"ภวังค์” ห้วงความรู้สึกนึกคิด สภาวะทางอารมณ์ที่สงบนิ่งอยู่ภายใต้กระบวนการแห่งสมาธิ อาณาเขตของ จิตที่กําหนดความเป็นตัวตน เชื่อมโยงเส้นทางของโลกแห่งกาลเวลาที่ว่างเปล่า ผู้ประพันธ์ได้รับแรงบันดาล ใจจากช่วงเวลาที่ได้บวชเป็นพระภิกษุ ซึ่งได้ปฏิบัติเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ทั้งเดินจงกรมและนั่งสมาธิ ประกอบกับด้วยประสบการณ์ส่วนตัวขณะเจริญกรรมฐาน จะได้พบเห็น “นิมิต" เรื่องราวต่างๆระหว่าง การปฏิบัติ ยังคงอยู่ในความทรงจํา ความรู้สึกนึกคิดที่ยังคงระลึกได้ตลอดเวลา แม้ว่าจะกลับสู่ความเป็น คฤหัสถ์ในปัจจุบันแล้วก็ตาม
The composer was inspired by the time he had been a Buddhist monk and had practiced Vipassana meditation, which includes walking and sitting. His personal experience while meditating gave him “premonitory dreams" which remains in his memory: he is able to recall it at any time, even when he is no longer in monkhood.
ผู้ประพันธ์สร้างสภาวะเสียงต่างๆ เพื่อจําลองสถานการณ์แห่งการเจริญกรรมฐาน โดยการกําหนดใช้เสียง ลมหายใจ การเคลื่อนไหวอยู่ภายในตัวตนที่หยุดนิ่งและการเลือกสีสันแห่งเสียง เพื่อสะท้อนกาลเวลาที่เดิน อยู่ทุกย่างก้าวภายในห้วงแห่ง “ภวังค์”
Concept The composer produced various sounds in order to imitate the meditating conditions. Such conditions are described by the sounds of humans' breaths flowing inside the standstill identity, choosing colours of sounds to reflect the passage as time passes by inside one's "subconsciousness."