คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University.
วีรบุรุษที่ตายแล้ว
2548
เรื่องสั้น
Dead Hero
2005
Short Story
เมื่อศึกษาประวัติศาสตร์และแนวคิดของวีรบุรุษในยุคนั้นแล้ว จึงเริ่มแต่งเรื่อง ขึ้นและปรับแก้ไขให้สมบูรณ์ทั้งเนื้อเรื่องและภาษา ปัญหาของเรื่องสั้นวีรบุรุษที่ตายแล้วก็คือ เรื่องแนวประวัติศาสตร์นั้นมี รายละเอียดปลีกย่อยมาก จํานวนหน้าที่กําหนดให้เขียนก็มีจํากัด จริงๆ แล้วอยาก เขียนเรื่องนี้ให้เป็นเรื่องยาวมากกว่าเพราะมีอะไรที่ต้องย่นย่อไปมาก รู้สึกเสียดาย ที่ต้องตัดออกไปเพราะหน้าไม่พอแต่โดยรวมแล้วผลงานชิ้นนี้ก็อยู่ในระดับที่พอใจ ถ้าเป็นไปได้คิดว่าจะเขียนเรื่องนี้เป็นเรื่องยาวอีกครั้ง ส่วนเรื่องสั้นอีกหกเรื่องที่เหลือ นั้นเป็นเรื่องสั้นที่คัดมาจากที่เคยเขียนไว้อย่างสม่ําเสมอ นํามาแก้เนื้อเรื่องบางส่วน ที่ไม่ลงตัวแล้วนํามารวมไว้ในหนังสือเล่มนี้
เส้นแบ่งบางๆ ระหว่างวีรบุรุษกับฆาตกร เจ็ดเรื่องสั้นที่หาคําตอบว่าใครคือผู้เสียสละที่แท้จริง ฝ่ายหงา หรืออหิงสา
เนื่องจากเรื่องสั้นเรื่องสุดท้ายที่ชื่อวีรบุรุษที่ตายแล้วเป็นเรื่องอิงประวัติศาสตร์ในยุคอินเดีย เอกราชจากอังกฤษหลังตกอยู่ใต้การกดขี่เป็นเวลานาน (ได้เอกราชในปี พ.ศ.2491) ทําให้ต้องการค้นหาหนังสือหลายเล่ม โดยเฉพาะหนังสือของท่านมหาตมะ คานธี ซึ่งเป็นผู้นําในการปฏิวัติด้วยวิธีอหิสา หรือหลักการไม่ใช้ความรุนแรงในการตอบโต้กับความรุนแรงกับอังกฤษ รู้สึกประทับใจมาก เพราะเป็นหลักการที่สูงส่งและเต็มไปด้วยความเมตตา อีกทั้งได้ศึกษาเรื่องราวของบุคคล ใกล้ชิดท่านมหาตมะ คานธี ได้แก่ ชาวาหารลัล เนห์รู ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดียเพื่อ ทำความเข้าใจกับท่านมหาตมะ คานธี ในหลายแง่มุม เพื่อให้เนื้อเรื่องสมบูรณ์ที่สุด ไม่ลําเอียงไปฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจึงศึกษาจากมุมมองที่ตรงกันข้ามด้วย ผู้นำทางความคิดของหลัก (การใช้ความรุนแรง) ในยุคนั้นก็คือ ท่านสุภาส จันทรโภส ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เป็นเจ้าลัทธิ Anti-Gandhi หรือลัทธิต่อต้านคานธีเลยก็ว่าได้ ท่านสุภาสได้ร่วมมือกับเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 2 และพยายามจะยกทัพมาตีอินเดียคืนจากอังกฤษ แต่เสียชีวิตก่อนเพราะเครื่องบินตก ความคิดของท่านก็คือหลักอหิงสาเป็นหลักที่สูงส่งเกินกว่ามนุษย์จะเข้าใจ ดังนั้นการให้ฝ่ายอังกฤษระดมยิงไปเรื่อยๆ แล้วคาดหวังว่าอังกฤษจะรู้สึกผิดไปเอง เป็นแนวคิดที่พาผู้อื่นไปตายอย่างไร้ประโยชน์ ดังนั้นจึงควรทําการรบกับอังกฤษให้ถึงขั้นเด็ดขาด ไม่ควรเจรจาจนกว่าจะได้เอกราชคืนมาด้วยกําลัง